พลิกตำนาน 100 ปี การบินโลก
Century of flight
Thursday, December 10, 2009
Wednesday, December 9, 2009
Century of flight (First flight of Thailand)
100 Years of Thailand's Aviation history
(ประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์การบินยาวนานครบ 100 ปีในปี ค.ศ. 2011)
บนท้องฟ้าเหนือมหานครกรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) มีวัตถุแปลกประหลาดบินวนไปเวียนมาสร้างความพิศวงงงงวยให้กับผู้คนที่อยู่บน พื้นดินในเวลานั้น จนกระทั่งเมื่อเจ้าสิ่งนั้นร่อนลงสู่พื้น ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) คนไทยก็ได้รู้จักกับฝรั่งชาวเบลเยี่ยมนามว่า นายชาร์ล แวน เดนเบอร์น ซึ่งเป็นนักบินคนแรกที่นำเครื่องบินปีก 2 ชั้นแบบอังรี ฟามัง IV (Henri Farman IV) ชื่อ Wanda มาแสดงการบินให้คนไทยได้เห็นกับตา สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่คนไทยเป็นอย่างมาก นอกจากประชาชนคนไทยจะได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนี้เป็นขวัญตาแล้ว พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ยังได้มาทอดพระเนตรเหตุการณ์สำคัญนี้ด้วย
จากวันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และเจ้าฟ้าอีก 2 พระองค์คือ พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก และ พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ทรงตระหนักเห็นถึงความสำคัญที่ประเทศไทยต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกัน ประเทศชาติจากภัยคุกคามต่างๆ การคัดเลือกนายทหารระดับหัวกะทิเพื่อที่จะถูกส่งไปเรียนวิชาการบินจึงเริ่ม ต้นขึ้นในเวลานั้น
นายทหารจำนวน 3 นายที่ถูกคัดเลือกได้แก่ พันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนีย์ สุวรรณประทีป) ผู้บังคับกองพันพิเศษกองพลที่ 5 ร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ผู้รั้งผู้บังคับกองพันพิเศษกองพลที่ 5 และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถูกมอบภารกิจพิเศษคือไปศึกษาวิชาการบิน ที่โรงเรียนการบินนิเออปอร์ต ณ สนามบินวิลลาคูเบลย์ ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2455 (1 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1) พร้อมทั้งยังได้จัดตั้ง “แผนกการบิน” ขึ้น โดยอยู่ในบังคับบัญชาของพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรการช่างทหารบก และมีการสร้างโรงเก็บเครื่องบินชั่วคราวไว้ที่สนามม้าสระปทุม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2456
เมื่อนายทหารทั้ง 3 คนสำเร็จหลักสูตรการบินแล้ว จึงเดินทางกลับประเทศไทย ในปลายปี พ.ศ. 2456 มาไม่มาเปล่า ยังได้นำเครื่องบินที่ทางราชการสั่งซื้อเป็นจำนวน 8 เครื่องมายังประเทศไทยโดยบรรทุกมาทางเรือ เป็นเครื่องบินแบบ “นิเออปอร์ต” 4 เครื่อง และแบบ “เบรเกต์” อีก 4 เครื่อง นำมาไว้ในโรงเก็บที่สนามม้าสระปทุม ท่านทั้ง 3 ที่สำเร็จการบินได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทยานพิฆาฏ ตามลำดับ กองทัพอากาศจึงถือว่าท่านทั้ง 3 เป็น “บุพการีทหารอากาศ” ทั้งยังได้เป็นครูฝึกสอนการบินและช่างเครื่องให้กับนักบินรุ่นต่อๆ มาด้วย
Reference: www.rtaf.mi.th
Tuesday, December 8, 2009
Slide Presentation
เชิญชม Slide เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การบินของโลก VS ประวัติศาสตร์การบินของประเทศไทย
เชิญชม Slide เครื่องบินของประเทศไทยในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
เชิญชม Slide เครื่องบินของประเทศไทยในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2
Subscribe to:
Posts (Atom)