Thursday, December 10, 2009

Century of flight (First flight of the world)

พลิกตำนาน 100 ปี การบินโลก
article



นับเป็นเวลา 100 ปี แล้วที่มนุษย์สามารถขึ้นไปบินอยู่บนท้องฟ้าได้เหมือนดั่งนก ซึ่งแทบไม่น่าเชื่อเลยว่าความใฝ่ฝันของมนุษย์จะเป็นจริงขึ้นมาได้ หากไม่ได้ชาวอเมริกันสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่อดทนสานฝันและจินตนาการของตนเองให้เป็นจริงขึ้นมา วันที่ซึ่งเป็นความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ของสองพี่น้องตระกูลไรท์ที่สามารถพาสิ่งประดิษฐ์ที่เรียกว่าเครื่องบินลอยพ้นพื้นทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้า สามารถเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลกได้เป็นผลสำเร็จคือวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2446 (ค.ศ. 1903) หรือเมื่อ 100 ปีเศษที่ผ่านมา
สองพี่น้องตระกูลไรท์ที่กล่าวถึงนั้นก็คือ วิลเบอร์ ไรท์ และออร์วิล ไรท์ ชาวเมืองเดย์ตัน มลรัฐโอไฮโอ แห่งสหรัฐอเมริกา ทั้งคู่จบการศึกษาเพียงแค่ชั้นมัธยมเท่านั้น แต่ทว่าความพยายาม ความอดทน ความตั้งใจจริง การช่างสังเกตทดลองและใฝ่รู้ของทั้งคู่ ทำให้สามารถเอาชนะความจริงที่ว่ามนุษย์ไม่สามารถบินได้ลงได้อย่างราบคาบ ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1903 เวลา 10.35 น. พวกเขาได้ทดลองบินโดยให้ออร์วิลน้องชายเป็นคนบิน ผลปรากฎว่าประสบความสำเร็จด้วยดี เขาสามารถขับเครื่องบินติดเครื่องยนต์ที่มีน้ำหนักกว่าอากาศ ทั้งยังสามารถบังคับควบคุมและประคองตัวเครื่องบินได้อย่างต่อเนื่อง นับเป็นเครื่องบินลำแรกที่บินอยู่ในอากาศได้นานถึง 15 วินาที บินได้ไกลถึง 200 เมตร สูงจากพื้นดิน 8 ฟุต และสามารถบังคับทิศทางการบินได้ และในวันเดียวกันนั้นวิลเบอร์พี่ชายได้ขอลองบินใหม่อีกครั้ง ครั้งนี้วิลเบอร์ทำได้สำเร็จและไกลกว่าถึง 260 เมตร ด้วยเวลา 59 วินาที

ความสำเร็จของสองพี่น้องตระกูลไรท์ในวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1903 ณ เนินทรายในมลรัฐ นอร์ทแคโรไลนาคือ จุดเริ่มต้นของการบินแบบใช้เครื่องยนต์นี่เอง ที่สามารถพลิกโฉมและสร้างประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญแห่งวงการการบินโลก อันนำมาซึ่งการสร้างคุณประโยชน์ให้กับโลกใบนี้อย่างมหาศาล เนื่องจากคนรุ่นต่อมาได้นำความคิดของพวกเขามาพัฒนาเครื่องบินต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง พร้อม ๆ กับการสร้างนิยามใหม่ให้กับการเดินทางรวมทั้งการทำสงคราม ทั้งคู่ทำให้การเดินทางไกลโพ้นทะเลในอดีตที่แสนยาวนาน กลับกลายเป็นเรื่องที่ง่ายและสะดวกขึ้น และนี่แหละคือเหตุการณ์ครั้งสำคัญในประวัติศาสตร์แห่งโลกการบินที่เราทุกคนไม่ควรลืมเลือน แม้ว่าในวันนี้สองพี่น้องตระกูลไรท์ได้เสียชีวิตลาจากโลกนี้ไปนานแล้วก็ตาม แต่ผลงานจากความพยายามของพวกเขาย่อมถูกจารึกไว้ตราบนานเท่านาน


เหตุการณ์สำคัญในรอบ 100 ปีที่ได้เกิดขึ้น


1903 พี่น้องตระกูลไรท์เริ่มต้นบินเป็นครั้งแรก

1907 เฮลิคอปเตอร์ถูกประดิษฐ์ขึ้น

1927 บินเดี่ยวข้ามมหาสมุทรแอตแลนติก

1945 ถล่มญี่ปุ่นด้วยระเบิดปรมาณู

1947 เครื่องบินจรวดบินด้วยระดับความเร็วที่มากกว่าเสียงเป็นครั้งแรก

1957 ดาวเทียมสปุตนิกเข้าสู่วงโคจร

1969 เครื่องบินคองคอร์ดปรากฎขึ้นเป็นครั้งแรก

1986 สถานีอวกาศ Mir ของรัสเซีย เริ่มต้นปฏิบัติการในวงโคจรของโลก

1995 ทดสอบโบอิ้ง 777

2003 ครบ 100 ปีของการบิน

Reference: www.604sqdn.com

Wednesday, December 9, 2009

Century of flight (First flight of Thailand)


100 Years of Thailand's Aviation history
(ประเทศไทยจะมีประวัติศาสตร์การบินยาวนานครบ 100 ปีในปี ค.ศ. 2011)


บนท้องฟ้าเหนือมหานครกรุงเทพฯ ในระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) มีวัตถุแปลกประหลาดบินวนไปเวียนมาสร้างความพิศวงงงงวยให้กับผู้คนที่อยู่บน พื้นดินในเวลานั้น จนกระทั่งเมื่อเจ้าสิ่งนั้นร่อนลงสู่พื้น ณ สนามม้าสระปทุม (ราชกรีฑาสโมสร) คนไทยก็ได้รู้จักกับฝรั่งชาวเบลเยี่ยมนามว่า นายชาร์ล แวน เดนเบอร์น ซึ่งเป็นนักบินคนแรกที่นำเครื่องบินปีก 2 ชั้นแบบอังรี ฟามัง IV (Henri Farman IV) ชื่อ Wanda มาแสดงการบินให้คนไทยได้เห็นกับตา สร้างความตื่นตาตื่นใจแก่คนไทยเป็นอย่างมาก นอกจากประชาชนคนไทยจะได้เห็นสิ่งมหัศจรรย์สิ่งนี้เป็นขวัญตาแล้ว พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนารถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ ยังได้มาทอดพระเนตรเหตุการณ์สำคัญนี้ด้วย

จากวันนั้นเอง พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 และเจ้าฟ้าอีก 2 พระองค์คือ พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ กรมหลวงพิศณุโลกประชานารถ เสนาธิการทหารบก และ พลเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ได้ทรงตระหนักเห็นถึงความสำคัญที่ประเทศไทยต้องมีเครื่องบินไว้ป้องกัน ประเทศชาติจากภัยคุกคามต่างๆ การคัดเลือกนายทหารระดับหัวกะทิเพื่อที่จะถูกส่งไปเรียนวิชาการบินจึงเริ่ม ต้นขึ้นในเวลานั้น

นายทหารจำนวน 3 นายที่ถูกคัดเลือกได้แก่ พันตรี หลวงศักดิ์ศัลยาวุธ (สุนีย์ สุวรรณประทีป) ผู้บังคับกองพันพิเศษกองพลที่ 5 ร้อยเอก หลวงอาวุธสิขิกร (หลง สินศุข) ผู้รั้งผู้บังคับกองพันพิเศษกองพลที่ 5 และ ร้อยโท ทิพย์ เกตุทัต ผู้บังคับกองร้อยที่ ๓ โรงเรียนนายร้อยชั้นมัธยม ถูกมอบภารกิจพิเศษคือไปศึกษาวิชาการบิน ที่โรงเรียนการบินนิเออปอร์ต ณ สนามบินวิลลาคูเบลย์ ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2455 (1 ปีก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1) พร้อมทั้งยังได้จัดตั้ง “แผนกการบิน” ขึ้น โดยอยู่ในบังคับบัญชาของพลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน จเรการช่างทหารบก และมีการสร้างโรงเก็บเครื่องบินชั่วคราวไว้ที่สนามม้าสระปทุม ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2456

เมื่อนายทหารทั้ง 3 คนสำเร็จหลักสูตรการบินแล้ว จึงเดินทางกลับประเทศไทย ในปลายปี พ.ศ. 2456 มาไม่มาเปล่า ยังได้นำเครื่องบินที่ทางราชการสั่งซื้อเป็นจำนวน 8 เครื่องมายังประเทศไทยโดยบรรทุกมาทางเรือ เป็นเครื่องบินแบบ “นิเออปอร์ต” 4 เครื่อง และแบบ “เบรเกต์” อีก 4 เครื่อง นำมาไว้ในโรงเก็บที่สนามม้าสระปทุม ท่านทั้ง 3 ที่สำเร็จการบินได้รับพระราชทานยศและบรรดาศักดิ์เป็น พลอากาศโทพระยาเฉลิมอากาศ นาวาอากาศเอก พระยาเวหาสยานศิลปสิทธิ์ และนาวาอากาศเอก พระยาทยานพิฆาฏ ตามลำดับ กองทัพอากาศจึงถือว่าท่านทั้ง 3 เป็น “บุพการีทหารอากาศ” ทั้งยังได้เป็นครูฝึกสอนการบินและช่างเครื่องให้กับนักบินรุ่นต่อๆ มาด้วย
Reference: www.rtaf.mi.th

Tuesday, December 8, 2009

Slide Presentation

เชิญชม Slide เกี่ยวกับประวัติศาสตร์การบินของโลก VS ประวัติศาสตร์การบินของประเทศไทย


เชิญชม Slide เครื่องบินของประเทศไทยในยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2